Home > บทความและผลงานทางวิชาการ

บทความวิจัย เรื่องแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ ที่ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาวิถีใหม่

Date-post: 2021-10-09


 

แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ ที่ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาวิถีใหม่

INTERNAL QUALITY ASSURANCE GUIDELINES FOR ENHANCING THE NEW EDUCATIONAL QUALITY FOR THE EXTRA-LARGE SECONDARY SCHOOLS

 

ขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และ 2) กำหนดแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการ และตัวแทนครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือชำนาญการพิเศษ ขึ้นไปรวมจำนวน 580 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นและการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า(1) ปัจจัยการดำเนินการตามจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจัยการบริหารจัดการตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากล และปัจจัยมาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ (2) แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ พบว่า แนวทางที่ 1 เป็นการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้พึงเป็นบุคคลที่มีความรู้และทักษะทางเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21 แนวทางที่ 2 การมีระบบการจัดการความรู้ และแนวทางที่ 3 การให้ครูเป็นบุคคลที่ใช้การวิพากย์ความรู้และการใช้วิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล

 

Abstract

The purpose of this research were to study1) the factors affectedinternal quality assurance for extra-large secondary schools, and 2) the internal quality assurance guidelines for extra-large secondary schools.The target group used in the research were extra-large secondary schools under the office of the basic education commission of 290 schools. The informants were 580 school principals and expert level teachers.The instrument used in the research werean in-depth interview and questionnaire. The statistics for data analysis were the mean, standard deviation, regression analysis and path analysis.The results showed that(1) the focus of the basic education commissionfactors, thefactors of the management according to the world class standard school guidelines, and the factors of some foreign internal quality assurance guidelines affectedinternal quality assurance for extra-large secondary schools. (2)The internal quality assurance guidelines for extra-large secondary schools, the first guideline, the 21st Century skills for teachers and education personnel, the second guideline, the knowledge management, and the third guideline, the critical thinking for teachers and education personneland the effective of measurement and evaluation process.

 

คำสำคัญ

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

 

Keywords

Internal quality assurance, Extra-large secondary schools

 

เอกสารอ้างอิง

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์. (2556). การบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาสำหรับอนาคต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง.สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพ.กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิเคราะห์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้รองรับการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุนันทา แก้วสุข. (2553). รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินในระดับดี : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพร หลิมเจริญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรสา ภาววิมล. (2553). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย ตามแนวคิดการจัดการความรู้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J., and Kahn, J. V. (1993). Research in education. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, L. J. (1947). Test reliability : its meaning and determination. Psychometrika. 12(1), 116.

Moses, N. W. (2014). Total quality management in secondary schools in Kenya: quality assurance in education. International Perspective.14(4), 339-362.

Shipe, D. A. (2014). A case study about total quality management in a school district : form selection to reflection (participatory management, continuous improvement). Dissertation Abstracts International.59(01), 46-A.